เข้าใจแผนที่ถํ้า

เข้าใจแผนที่ถํ้า

How to Understand a Cave Map

วินัย เยาวน้อยโยธิน Winai Yaowanoiyothin
นักธรณีวิทยาอิสระ Independant Geologist

ปัจจุบัน ยังไม่มีหน่วยงานในประเทศ มีหน้าที่โดยตรงสำหรับจัดทำแผนที่และข้อมูลถํ้า ของประเทศ ให้เป็นระบบมาตรฐานสากล แต่เรายังโชคดี ที่มีคณะผู้หลงไหลในถํ้า มีองค์กรถํ้าต่างประเทศหลายองค์กร เข้ามาสำรวจถํ้าในประเทศ พร้อมจัดทำ และเผยแพร่ข้อมูลถํ้าในรูปแบบมาตรฐานสากลแก่ผู้สนใจทั่วไป ข้อมูลดังกล่าวเข้าถึงได้จาก เว็ปไซต์ ของคุณมาร์ติน อิลลิส https://www.thailandcaves.shepton.org.uk/

ด้วยเรื่องเกี่ยวกับ “ถํ้า” เป็นศาสตร์เฉพาะด้าน รวมถึงเป็นแหล่งข้อมูลของวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขา ประกอบกับ คุณมาร์ติน ซึ่งเป็นทั้งนักสำรวจถํ้าในสายเลือด เป็นนักเขียน และเป็นนักวาดภาพกราฟฟิค ทำให้คุณมาร์ติน ได้รวบรวม และเผยแพร่ข้อมูลถํ้าต่างๆ จากที่ได้สำรวจเอง รวบรวมข้อมูลจากคณะสำรวจถํ้าชาวต่างประเทศ และวาดแผนที่ด้วยตัวเองให้แก่ผู้สนใจเกี่ยวกับถํ้าในระดับสากล โดยเฉพาะแผนที่ถํ้า ที่สามารถเข้าถึงได้ มีไม่ตํ่ากว่า 528 แห่ง จาก 37 จังหวัดทั่วประเทศ
แผนที่ถํ้าเป็นข้อมูลที่มีคุณค่า แต่การนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ ผู้ใช้ต้องเข้าใจ และอ่านแผนที่ถํ้าได้อย่างถูกต้อง การทราบถึงวิธีการสำรวจถํ้า การเข้าใจมาตรฐานที่บอกถึงคุณภาพการสำรวจ - การทำแผนที่ถํ้า และรวมถึงการฝึกฝนให้คุ้นเคยกับสัญลักษณ์ในแผนที่ จะทำให้สามารถอ่าน ใช้ และเข้าใจแผนที่ถํ้าได้
ผมอ่าน และใช้ข้อมูลของคุณมาร์ติน จากหนังสือ The Caves of Thailand ชุดต่างๆ และจากเว็ปไซต์ พบว่านอกจากเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในการศึกษาถํ้าในแง่มุมเกี่ยวกับธรณีวิทยาของถํ้าแล้ว ยังพบข้อมูลในด้านอื่นๆ เช่น สัตว์ต่างๆ ที่อาศัยในถํ้า ข้อมูลประวัติศาสตร์-โบราณคดี ข้อมูลที่มนุษย์สร้างขึ้นในถํ้า และรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับความมานะพยายาม ของคณะสำรวจถํ้าด้วย
ฉบับนี้จัดทำเป็นภาษาไทย ให้คุณมาร์ติน สำหรับเผยแพร่ให้กับ คณะคนไทยที่ติดตาม และติดต่อกับคุณมาร์ติน ในหลากหลายเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับ “ถํ้า”

PDF Download

1) การสำรวจ และการวาดแผนที่ถํ้า ทำกันอย่างไร

การสำรวจ: เหมือนกับการสำรวจรังวัดที่เห็นได้ทั่วไป เป็นการวัดค่าตำแหน่งที่กำหนดขึ้นเป็นโครงข่ายสำหรับการอ้างอิงในการวาดแผนที่ถํ้า ให้มีรูปร่าง และมาตราส่วนที่ถูกต้อง ทำได้โดยใช้เข็มทิศ เทปวัด และ/หรือ อุปกรณ์อื่นๆ ที่เหมาะสม (เครื่องวัดระยะทางด้วยเลเซอร์ เครื่องวัดมุมก้มมุมเงยและวัดทิศทาง)
การสำรวจถํ้า ทำในสภาพแวดล้อมที่มืด และเปียกชื้น ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้ส่วนมากจะพกพาสะดวก การกำหนดตำแหน่ง และรูปแบบสำรวจภายในถํ้า โดยทั่วไป มี 4 รูปแบบ ส่วนการทำแผนที่ถํ้ามักใช้ผสมกันขึ้นกับสภาพลักษณะถํ้า (รูป 1, Trimmis, 2018)
แนวสำรวจหลักเป็นศูนย์กลาง รูป 1 (ก) (ข) และ (ค) ใช้กับถํ้าที่มีลักษณะถํ้าเป็นแนวตรง โดยแนวสำรวจหลักที่กำหนดขึ้นกับสภาพภายในแต่ละถํ้า ในกรณีถํ้าที่แคบการวางแนวสำรวจหลักแบบสลับฟันปลาเป็นวิธีที่นิยมใช้ (รูป 1 (ง)) และควรระวัง วิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้ข้อมูลสำรวจคลาดเคลื่อนมากสุด รูป 1 (จ) และ (ฉ) เป็นแนวสำรวจแบบรัศมี และเป็นวง ทั้งสองวิธีนิยมใช้ในการสำรวจโถงถํ้า ที่มีลักษณะเป็นวงค่อนข้างกลม - รี วิธีแนวสำรวจแบบรัศมี ให้ค่าความถูกต้องในการสำรวจสูงสุด แต่บริเวณที่เป็นจุดศูนย์กลาง ต้องสามารถมองเห็นผนังถํ้าโดยรอบได้ ส่วน แนวสำรวจแบบเป็นวง เป็นวิธีที่นักสำรวจถํ้าสามารถทราบความคลาดเคลื่อนในการสำรวจได้ เมื่อสำรวจกลับมาปิดวงรอบการสำรวจ


การวาดแผนที่ถํ้า (แผนผังถํ้า หรือผังถํ้า): การวาดผนังถํ้า และรายละเอียดอื่นๆ ภายในถํ้า นิยมวาดภาพเสมือนมองถํ้าจากด้านบน ภาพตัดขวางกับแกนยาวของถํ้าบริเวณโถงถํ้า และ ภาพด้านข้าง (ขนานกับแกนยาวของโถงถํ้า) โดยการวาดคำนึงถึงรูปร่าง และมาตราส่วนที่ถูกต้อง อ้างอิงตามตำแหน่งสำรวจโครงข่ายที่กำหนดขึ้น
การวาดแผนที่ถํ้า วาดโดยอาศัยตำแหน่งสำรวจ (1, 1a, 2, 3, …) เป็นจุดอ้างอิง และวาดผนังถํ้า (เส้นสีเขียว) รวมถึงลักษณะต่างๆ ที่พบในถํ้าขณะที่ทำการสำรวจถํ้า (รูปที่ 2) สัญลักษณ์ต่างๆ ที่แสดงในร่างแผนที่ถํ้านี้ส่วนมาก แสดงถึงลักษณะที่พบบริเวณพื้นถํ้า ตัวเลขในวงกลม แสดงถึงระดับความสูงเพดานถํ้า (Grimes, 2000)

2) องค์ประกอบของแผนที่ถํ้า

ในแผนที่ถํ้าที่เผยแพร่ทั่วไป จะประกอบด้วย ผนังถํ้า (มองจากด้านบน) แสดงเป็นเส้นทึบ ภาพตัดขวาง ลักษณะความสูง-ตํ่าในถํ้า (บริเวณพื้นถํ้า และเพดานถํ้า) องค์ประกอบภายในถํ้า นํ้า หินประดับถํ้า ลักษณะตะกอนภายในถํ้า สิ่งมีชีวิตภายในถํ้า และองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ และลักษณะสำคัญอื่นๆ รวมถึงข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับผังถํ้า (เช่น มาตราส่วน คุณภาพการสำรวจ ชื่อผังถํ้า ชื่อคณะผู้สำรวจ และวันที่สำรวจ)

2.1) ชื่อแผนที่ และองค์ประกอบที่ช่วยในในการเขาใจแผนที่ถํ้า

กรอบชื่อแผนที่ เป็นส่วนสำคัญ ให้ข้อมูลสนับสนุนแก่ผู้ใช้แผนที่ ในด้าน ระบบฐานข้อมูล ตำแหน่ง-ที่ตั้ง พิกัดภูมิศาสตร์ รวมถึงมาตราส่วน และข้อมูลการสำรวจที่ใช้ในการสร้างแผนที่ รูปแบบของข้อมูลในส่วนนี้มีหลากหลาย ดังตัวอย่าง ในรูป 3 และ 4

รูป 3: กรอบข้อมูลที่ช่วยในการอ่านแผนที่ถํ้า แปลจาก รูป 4 จัดรูปแบบแนะนำโดย Grimes, 2000

รูป 4: ข้อมูลสนับสนุนในการอ่านแผนที่ถํ้า (แผนที่ถํ้าจาก https://www.thailandcaves.shepton.org.uk)

ข้อมูลการสำรวจจัดทำแผนที่ถํ้าในปัจจุบัน จัดเป็นการสำรวจที่มีความคลาดเคลื่อนสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจประเภทอื่นๆ (Trimmis, 2018) ข้อมูลการสำรวจ และการทำแผนที่ถํ้า จึงต้องระบุวิธีการ และระดับคุณภาพการสำรวจถํ้า
ในเดือน กันยายน 2555 สมาคมหินประดับถํ้าระหว่างประเทศ (Union Internationale Spéléologie, UIS) ได้ปรับปรุงการระบุมาตรฐานการสำรวจถํ้า จากสมาคมการวิจัยถํ้าของอังกฤษ (British Cave Research Association, BCRA) และ สหพันธ์การศึกษาหินประดับถํ้าของออสเตรเลีย (Australian Speleological Federation, ASF) และเผยแพร่โดย Häuselmann (2012) สรุปได้ดังนี้
การใช้สัญลักษณ์ที่ระบุเป็นอักษรและตัวเลข ในแผนที่ถํ้า
“UISv1 4-2 BC” หมายถึง
• UISv1 = การสำรวจถํ้าตามมาตรฐาน UIS ฉบับที่ 1 (ปัจจุบันปรับปรุงเป็น v2)
• เลข 4 = การสำรวจระดับคุณภาพ 4
• เลข 2 = การทำแผนที่รายละเอียด ระดับ 2 และ
• BC = คุณสมบัติเพิ่มเติม ระดับ B และ C
สำหรับแผนที่ถํ้าหลวง ในรูปที่ 4 แสดงคุณภาพข้อมูลการสำรวจ ที่หลากหลาย เนื่องจากเป็นการรวบรวมข้อมูล และจัดทำแผนที่ถํ้า จากหลายแหล่งข้อมูล และจากการสำรวจหลายปี แสดงไว้ดังนี้
• UISv2 3-3-A
• UISv2 2-2-A และ
• UISv2 6-3-BF
รายละเอียดของ ระดับคุณภาพการสำรวจ (มี 9 ระดับ คือ -1, 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6 และ X ลำดับจากคุณภาพตํ่า ไปหาคุณภาพสูง) ระดับรายละเอียดของแผนที่ (มี 5 ระดับ คือ 0, 1, 2, 3 และ 4 ลำดับจากไม่มีการระบุ ไปถึงรายละเอียดสูง) อักษรเสริมท้ายการสำรวจถํ้า (ระบุด้วยอักษรพิมพ์ใหญ่ภาษาอังกฤษ A, B, C, D, E และ F) แสดงใน ตารางที่ 1 ถึง 3 พร้อมด้วยบันทึกท้ายตาราง










2.2) สัญลักษณ์ในแผนที่ถํ้า

สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนที่ถํ้ามีหลากหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมแสดง คือ สัญลักษณ์แสดงชนิดของหินประดับถํ้าต่างๆ (speleothems) เช่น สัญลักษณ์หินงอก หินย้อย แท่งเสา ฯลฯ (รูป 5) สัญลักษณ์ถํ้า หากใส่ลงในแผนที่ถํ้าทั้งหมดจะทำให้ แผนที่ถํ้าซับซ้อนและเข้าใจได้ยากขึ้น แต่ยังคงเป็นที่นิยม เนื่องจากหากเข้าใจจะสามารถเข้าใจถํ้าได้ทั้งหมด ดังแสดงในสัญลักษณ์ในกรอบล่างขวามือที่แสดงถึง สระนํ้า ประกอบด้วย สระนํ้าหินคราบ หินนํ้าไหล และตะกอนดินเหนียว รายละเอียดของการเขียนสัญลักษณ์ถํ้าของ สมาคมหินประดับถํ้าระหว่างประเทศ (UIS) จัดทำโดย Häuselmann (2002)

รูป 5: ตัวอย่างสัญลักษณ์หินประดับถํ้า
สัญลักษณ์แผนที่ถํ้าที่คุณมาร์ตินได้เขียนขึ้น สำหรับประเทศไทย คุณมาร์ตินได้สรุปไว้ในรูปที่ 6 ซึ่งเป็นเพียงการพัฒนาเบื้องต้นเท่านั้น
รูปที่ 6: สัญลักษณ์ที่ใช้ในการสำรวจถํ้า ในประเทศไทย (เบื้องต้น) แนะนำโดยคุณมาร์ติน (พ.ย. 2562)

3) ตัวอย่างแผนที่ถํ้า (ต้นฉบับ และฉบับที่อธิบายรายละเอียด)

 

เอกสารอ้างอิง

Ellis, M. (2017). The caves of Thailand 2 – Northern Thailand, 1st edition, Martin Ellis, 492 p. (https://www.thailandcaves.shepton.org.uk)
Grimes, K. (2000). Cave Mapping – Sketching the detail – A guide to producing a useful cave map, ASF Cave Survey and Mapping Standards Commission
Häuselmann, P. (2002). UIS Cave Symbols: the definitive list, Acta Carsologica, 31-3, pp. 165 – 176.
Häuselmann, P. (2012). UIS Mapping Grades, version 2, UIS Mapping Grade Survey and Mapping Working Group, UIS Informatics Commission (pdf file from https://scholarcommons.usf.edu; download dated 4/11/2018).
National Speleological Society (NSS) (1976). The 1976 NSS Standard Map Symbols, NSS Bulletin, Vol. 41, No. 2, pp. 35 – 48.
Trimmis, K.P. (2018). Paperless mapping and cave archaeology: A review on the application of DistoX survey method in archaeological cave sites, J. of Archaeological Science, Reports 18, pp. 399 – 407.